วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ท่านถาม - เราตอบ






...คัดมาจากหนังสือ ท่านถาม - เราตอบ โดย ธ. ธรรมศรี ...

...เรื่องกรรม ...

... ถาม ... เพราะเหตุไร  พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องกรรม ?

... ตอบ ... เพราะอัญญาณได้ครอบคลุมอินเดียไว้เสียหมด ประชาชนต่างทอดตัวต่อโชคชาตา
ขาดความก้าวหน้าในศีลธรรม  พระพุทธเจ้าทรงประสงค์จะเพิกอัญญาณนั้น  แล้วจุดประทีปดวง
ใหม่ซึ่งสว่างไสวด้วยเหตุผล  เพื่อประชาชนจะได้พ้นจากความงมงายต่างๆ   ลัทธิกรรมในพุทธ
ศาสนาเป็นความก้าวหน้าในด้านศีลธรรม  และแม้แต่หลักวิทยาศาสตร์ก็ต้องค้อมศรีษะลงรับรอง
ด้วยดุษณียภาพโดยไม่มีทางคัดค้าน ...

...เมื่อกล่าวถึงเรื่องวิทยาศาสตร์ ก็ควรที่จะทราบเสียก่อนว่าพุทธศาสนานั้นไม่แย้งกับวิทยาศาสตร์
  ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า วิทยาศาสตร์นั้นไม่ยอมให้นักศึกษาเชื่อด้วยไปทุกๆอย่าง ต้องตรวจสอบ
ค้นคว้าอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อนแล้วจึงยอมให้เชื่อ ซึ่งหลักนี้แหละ เป็นมรรควิธีทางพุทธศาสนา
เหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ หลักพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์จึงไม่แย้งกัน กล่าวโดยละเอียด ...

...วิทยาศาสตร์นี้มี ๒ อย่างคือ ...

๑. วิทยาศาสตร์ทางวัตถุธรรม

๒. วิทยาศาสตร์ทางนามธรรม

... วิทยาศาสตร์ทางวัตถุธรรมนั้น จะต้องอาศัยการทดลองทางวัตถุเพื่อตรวจสอบผล กล่าวคือ ...
เมื่อต้องการจะรู้ว่า หินประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง ก็ต้องอาศัยหลักการวิเคราะห์ กล่าวคือ ...
นักวิทยาศาสตร์นั้นจะเอาก้อนหินนั้นมาแยกธาตุดู [ เรียกว่าวิเคราะห์ ] ครั้งแล้วครั้งเล่าจนตอบ
ได้ว่า หินนั้นประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง ครั้นแล้วเขาจะทดลองใหม่อีก ด้วยเอาส่วนที่แยกออกจาก
กันนั้นมารวมกันเข้าใหม่ เพื่อดูผลว่า มันจะเป็นหินตามเดิมหรือไม่ วิธีหลังนี้ เรียกว่า สังเคราะห์ 

...พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางนามธรรม และมีวิธีการค้นคว้าเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นวิทยาศาสตร์ ผู้ที่กระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมได้รับผล ...
สมควรแก่การปฏิบัติ ผู้หนึ่งผู้ใดจะปฏิบัติแทนกันหาได้ไม่ ...

... พระธรรมคุณที่ว่า ...

๑. พระตรัสไว้ดีแล้ว

๒. อันบุคคลเห็นเอง

๓. ไม่จำกัดกาลเวลา

๔. พิสูจน์ได้

๕. ควรน้อมเข้ามาหาตน

๖. รู้แจ้งได้เฉพาะตัวผู้ทดลองและกระทำตาม

...เหล่านี้ ย่อมเป็นหลักยืนยันความเป็นวิทยาศาสตร์ของหลักธรรมทางพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
และเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วก็ควรศึกษาเรื่องกรรมต่อไป ...



                                                               ปฏิจจสมุปบาท


...คำว่า " กรรม "...หมายถึงการกระทำ ตลอดถึงปฏิกิริยา หรือผลสะท้อนของการกระทำด้วย...
ในทางพุทธศาสนา คำว่า " กรรม " การกระทำนั้นมุ่งเอาเจตนาเป็นใหญ่ ดังคำว่า ...
..." เจตนาหัง  ภิกขเว  กัมมัง วันทามิ " ...ดูก่อนภิกษุท้งหลาย! เราตถาคตกล่าวเจตนาว่าเป็น
กรรม ซึ่งทั้งนี้ย่อมหมายความว่า พุทธศาสนาถือทางสายกลาง แม้ในพระวินัย พระพุทธเจ้าจะทรง
ตราข้อปรับอาบัติแก่ภิกษุ แม้ไม่มีเจตนาจะล่วงละเมิดข้อห้ามต่างๆ แต่นั้นก็มิได้หมายความว่า ...
จะทรงเว้นจากทางสายกลางเสีย หากแต่ต้องทรงบัญญัติไว้เช่นนั้น เพื่อป้องกันการแก้ตัวของผู้มี
อัธยาศัยหยาบ ...

... ถาม ... กรรมนั้น หมายเอาดีหรือชั่ว ?

... ตอบ ...กรรมนั้นเป็นคำกลางๆ อาจดีก็ได้ อาจชั่้วก็ได้ ท่านเรียกฝ่ายดีว่า

...กุศลกรรม แปลว่ากรรมดี เรียกฝ่ายชั่วว่า ... อกุศลกรรม แปลว่ากรรมชั่ว ...

... ถาม ...หลักในพระพุทธศาสนาถือว่าที่จะเป็นกรรมนั้นต้องประกอบด้วยองค์เท่าไร ?

... ตอบ ...ต้องประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ...

๑. มีผู้ทำ

๒. ทำด้วยเจตนา

๓. มีผลแก่ผู้ทำ

... ถ้าจะกล่าวโดยหลักวิทยาศาสตร์ มนุษย์เรานี้ก็เป็นเทหวัตถุ การเปลี่้ยนแปลงของเทหวัตถุ
ทั้งหลาย เป็นผลมาจากความเค้นหรือกริยาต่อต้านซึ่งกันและกัน ระหว่างเทหวัตถุกริยาและ ...
ปฏิกริยาบางชนิด ระหว่างเทหวัตถุอาจมีขี้นได้ แม้ว่าเทหวัตถุทั้ง ๒ ไม่อยู่ติดกัน เช่นแม่เหล็ก
ออกแรงดูดชิ้นเหล็ก ...

...นอกจากนี้ อาจมีกริยาและปฏิกริยาอีกหลายชั้นในระหว่างกริยาและปฏิกริยาอันหนึ่ง ...

... นิวตัน ... นักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ได้วางกฏการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุในเมื่อแรงภายนอก
เทหวัตถุทำกริยาต่อเทหวัตถุไว้ ๓ ข้อ คือ ...

... ข้อ ๑. แสดงถึงกริยาวัตถุในเมื่อไม่มีแรงภายนอกทำกริยาต่อเทหวัตถุนั้น กฏข้อนี้ เทหวัตถุทุกๆ เทหวัตถุจะอยู่ในสถานะอยู่นิ่ง หรือสถานะเคลื่อนที่ตามแนวเส้นตรงด้วยความเร็วคงตัวตลอดไป
จนกว่าจะมีแรงภายนอกมาทำกริยาต่อมัน สถานะนั้นๆของมันจึงเปลี่ยนไปได้ ...


...ข้อ ๒. แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรงภายนอกกับมวลสารของเทหวัตถุว่าขณะที่แรง ทำกริยา
อยู่นั้นมีผลต่อการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุอย่างไร กฏข้อนี้ว่า ...


" อัตราการเปลี่ยนแปลงฃอง ' การเคลื่อนที่ ' ของเทหวัตถุเป็นสัดส่วนกับแรงภายนอก และการ
เปลี่ยนแปลงนี้จะอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับแนวทิศทางของแรง ซึ่งทำกริยาต่อเทหวัตถุนั้น "


... ข้อ ๓. เปรียบเทียบค่าของความเค้นสองชนิดคือ กริยาและปฏิกริยาพร้อมกับแสดงว่า แรงทั้ง
๒ นี้จะต้องเกิดขึ้นเป็นคู่กันอยู่เสมอ กฏข้อนี้ว่า ...

  " ย่อมมีปฏิกริยาต่อต้านกริยาทุกๆกริยาเสมอ กริยาและปฏิกริยานี้ ย่อมมีค่าเท่ากัน
และตามทิศทางตรงกันข้าม " 


...พิจารณาจากหลักวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมานี้ เราจะเห็นได้่ว่า กรรมและปฏิกริยาย่อมยังผลให้สัตว์
ทั้งหลายเคลื่อนไหว และเมื่อมีกรรมก็ต้องมีปฏิกริยา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล
ตรงกันเสมอ ในทางวิทยาศาสตร์ กริยาและปฏิกริยาย่อมมีผลซับซ้อนหลายชั้น ยากแก่การสังเกต
ฉันใด ในทางพุทธศาสนา กรรมและผลของกรรมก็ย่อมมีซับซ้อนเช่นเดียวกันฉันนั้น ด้วยเหตุนี้จึง
มีผู้คิดหาเหตุผลแย้งเรื่องกรรมในพุทธศาสนาว่าไม่จริง ทั้งนี้เพราะผู้นั้นขาดความคิดพิจารณาหา
เหตุผล เอาแต่ความไม่ยอมเชื่อ ด้วยเห็นว่า ศาสนาเป็นเรื่องครึขึ้นมาพูดอ้าง แต่ความจริง ผู้นั้นครึ
กว่าหลักธรรม นี่เป็นเส้นผมบังภูเขาที่นักศึกษาสมัยใหม่ควรคิดไว้บ้าง ...


...วันนี้จบลงเท่านี้กันก่อน ... ผู้ใดสนใจอยากติดตาม ... ให้ไปหาหนังสือ ...

... ท่านถาม - เราตอบ ... โดย ธ. ธรรมศรี ...อ่านได้นะครับ ...สวัสดี ...